โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์


หมู่ที่ 3 บ้านปากเกาะ ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82190

314561633_3355405684778039_1456698068906020178_n

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

1082330111-20210624-190626

นางสาวกุณชรัศม์พฤกษา เอนกเมธีพฤกษา
ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เดิมชื่อโรงเรียนบ้านทุ่งตึก เปิดสอนตั้งแต่ ชั้น ป. ๑ – ป.๔ มีนักเรียนทั้งหมด ๔๔ คน มีครูทำการสอน ๑ คน คือ นางสาวสุมล เสวกสาคร ซึ่งรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาทางราชการได้แต่งตั้งนายสุรัตน์ จินดามณี มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนี้เริ่มดำเนินการจัดตั้งโดยประชาชนหมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะคอเขา นำโดยนายณรงค์ นาเวศน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะคอเขา โดยติดต่อขอความร่วมมือจากบริษัทเรือขุดแร่บุญสูง โดย นายจุติ บุญสูง ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด ๓ ห้องเรียน และอุปกรณ์อื่นๆ มูลค่า ๑๘๐,๕๕๐ บาท และบริจาคที่ดิน ๓ ไร่ ๖๐ ตารางวา มูลค่า ๑๕,๗๕๐ บาท ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์” เพื่อเป็นเกียรติแด่ผู้บริจาค เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี ผู้บริหาร .. . คน, ครู จำนวน ๓ คน, ,นักการภารโรง – คน นักเรียน ๒๕ คน

วิสัยทัศน์โรงเรียน

“ มุ่งพัฒนาการจัดการศึกษา ให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาคและทั่วถึง  มีคุณธรรมจริยธรรม  ใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร  นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน   มีสุขภาพอนามัยที่ดี  รักษาวัฒนธรรมและความเป็นไทย  และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน “

พันธกิจ

๑.    จัดการศึกษาให้กับผู้เรียนอย่างเสมอภาคและทั่วถึง

๒.    จัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน(พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง)

๓.    พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัยในตนเอง(พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี)

๔.    พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่มีความสุข

๕.    พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร(พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง)

๖.    ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมตามเกณฑ์วิชาชีพ และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการเรียนการสอน

๗.    พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้

๘.    ร่วมมือกับชุมชนเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  วัฒนธรรม  ประเพณีท้องถิ่น